ประวัติ ความเป็นมา ความหมายของระบบมาตรฐาน ISO 9001:2000 คืออะไร
ISO 9001 : 2000 เป็นมาตรฐานสากลที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์กร
ISO 9001 : 2000 จึงเป็นระบบบริหารงานคุณภาพมาตรฐานสากล แนวคิดสำคัญของ ISO 9001 : 2000 คือ การจัดวางระบบบริหารงาน เพื่อการประกันคุณภาพซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ได้รับการควบคุม และสามารถตรวจสอบได้โดยผ่านเอกสารที่ระบุขั้นตอน และวิธีการทำงาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอน ต่างๆ ในการปฏิบัติงาน โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานมีการจดบันทึกข้อมูล รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในเอกสารหรือไม่ และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิม
ในปัจจุบันมาตรฐาน ISO 9001 : 2000 จึงกลายเป็นเงื่อนไขหรือข้อกำหนดทางการค้าในการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นใบเบิกทางไปสู่การค้าในระดับสากล
มาตรฐานที่ใช้ได้กับทุกองค์กร
ISO 9001 : 2000 เน้นบทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องให้ความสำคัญกับความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้อง องค์กรทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิตหรือภาคบริการทั้งรัฐและ เอกชน สามารถนำระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2000 ไปใช้ได้ และไม่มีขีดจำกัดว่าต้องใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่การลงทุนสูงและบุคลากร จำนวนมากเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ และบริการให้เทียบเคียงกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงได้
ประโยชน์ที่ได้รับภายในองค์กร
* มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบยิ่งขึ้น
* มีคุณภาพสินค้าที่ดีขึ้น
* ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากของเสียได้อย่างเป็นรูปธรรม
* เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานดีขึ้น
* มีระบบเอกสารที่ดีขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับภายนอกองค์กร
* ลูกค้าเกิดความมั่นใจในสินค้าและบริการ
* ก้าวสู่ตลาดต่างประเทศได้ง่าย
* เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า
* สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า
* เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
หลักการของการบริหารงานคุณภาพ (Quality Management Principle – QMP) มี 8 ประการ ได้แก่
1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Focus)
2. ความเป็นผู้นำ (Leadership)
3. การมีส่วนร่วมของบุคลากร (Involvement of People)
4. การบริหารเชิงกระบวนการ (Process Approach)
5. การบริหารที่เป็นระบบ (System Approach)
6. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)
7. การตัดสินใจบนพื้นฐานความเป็นจริง (Factual Approach to Decision Making)
8. ความสัมพันธ์กับผู้ขายเพื่อประโยชน์ร่วมกัน (Mutually Beneficial Supplier Relationship)
ISO 9000 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบคุณภาพอันเกี่ยวกับการ จัดการ ด้านคุณภาพ และการประกันคุณภาพ โดยเน้น “ความพึงพอใจ ของลูกค้า” (Customer Satisfaction) เป็นสำคัญ
มาตรฐานงานคุณภาพ ISO 9000 จัดทำขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรฐาน(International Organization for Standardization)
ISO 9000 เป็นระบบคุณภาพที่ใช้ได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอุตสาหกรรม การผลิตหรือการบริการ โดยไม่คำนึงถึงขนาดเทคโนโลยี หรือความ ซับซ้อนขององค์การ
หลักการของระบบมาตรฐานงานคุณภาพ ISO 9000 นั้น ตั้งอยู่บนความคิดพื้นฐานที่ว่า เมื่อกระบวนการ (Process) ดีแล้ว ผลที่ได้รับ (Outputs) ก็ย่อมจะดีตามไปด้วย ซึ่งกระบวนการในที่นี้เป็นกระบวนการใดๆ ก็ได้ ที่ก่อให้เกิดผล และผลที่ได้เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม โดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญซึ่งย่อมก่อให้เกิดความพึงพอใจของ ลูกค้าก็คือความหมายของ“คุณภาพ” นั่นเอง
การควบคุมกระบวนการให้ดีเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในสินค้าหรือการบริการนั้น โดยหลักการก็คือการจัดทำระบบ ที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า กระบวนการ ต่างๆได้รับการควบคุมโดยมีเอกสารระบบขั้นตอนวิธีการทำงานเพื่อให้เกิดความ มั่นใจว่าหน่วยงานรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนอีกทั้งขั้นตอนต่างๆในการ ปฏิบัติงาน หน่วยงานและบุคลากรจะต้องได้รับการอบรมเพื่อให้มีทักษะในการปฏิบัติงานมีการ บันทึกข้อมูลและตรวจสอบว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามที่ระบุไว้ มีการแก้ไขข้อผิดพลาด รวมทั้งมีการป้องกันปัญหามิให้เกิดซ้ำขึ้นอีก ดังนั้น เอกสารที่จัดทำขึ้นในระบบคุณภาพ ISO 9000 ก็เพื่อสร้างระบบ ให้ หน่วยงานนั่นเอง เพื่อให้การทำงานต่างๆ ภายในองค์กร ขึ้นอยู่กับ“ระบบ”ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับ “คน” แต่เพียงอย่างเดียว
มาตรฐานคืออะไร
มาตรฐาน คือ ข้อตกลงที่จัดทำขึ้นเป็นเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลหรือข้อกำหนดทางเทคนิค (Technical Specifications) หรือวิธีการทำงาน ที่ถูกต้อง เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป แล้วร่วมกำหนดเป็นเกณฑ์ข้อบังคับขึ้นมาหรือ นิยาม คำจำกัดความคุณลักษณะเฉพาะ (Definition of Characteristics)ของสิ่งนั้นๆที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ขบวนการ หรือการบริการนั้นๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
ดังนั้น มาตรฐาน (Standards) ก็คือ ข้อตกลงหรือพันธะร่วมที่ยอมรับระหว่างผู้ผลิตกับผู้รับบริการ หรือ เกิดจากเกณฑ์เฉลี่ยจากสมรรถนะ ของหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงาน หรือ เกิดจากข้อกำหนดด้านวิธีการหรือการทำงาน (Procedures manual หรือ Work Instruction) นั้นเอง
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน(International Organization for Standardization:ISO) เป็นองค์กรอิสระ(Non–govermential Organization) จัดตั้งขึ้นในปี คศ.1947 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีสมาชิกกว่า 130 ประเทศทั่วโลก มีพันธกิจ (Mission) ในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามาตรฐานงานต่างๆ และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และพัฒนาความร่วมมือในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและเศรษฐกิจ อย่างครบวงจร
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization) มีชื่อเรียกสั้น ๆว่า ISO เป็นภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่า “เท่าเทียมกัน” ดังเช่น “ ISOMETRIC” ซึ่งมีความหมายว่า “วัดได้เท่ากันหรือขนาดเท่ากัน” หรือ “ISONOMY”ซึ่งหมายถึง “มีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย”เป็นต้น ดังนั้นคำว่า“ ISO” จึงไม่ใช่คำที่ย่อมาจากชื่อเต็มขององค์การ
องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization) ประสพความสำเร็จในการกำหนดมาตรฐาน ต่างๆมากมาย ที่นานาประเทศนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการค้า อุตสาหกรรมและต่อผู้บริโภคเอง เช่น
* กำหนดรหัสความเร็วของฟิล์มถ่ายรูป (The ISO Film Speed Code)
* กำหนดมาตรฐานของบัตรโทรศัพท์และบัตรเครดิต (Telephone and Banking Cards)
* องค์กรธุรกิจกว่า 10,000 องค์กร ได้มีการนำระบบมาตรฐานงานคุณภาพ ISO 9000 เป็นกรอบไปปฏิบัติว่ามีการบริหารจัดการ อย่างมี คุณภาพและประกันคุณภาพ ขณะเดียวกันก็ได้นำมาตรฐาน ISO 14000 นำไปเป็นกรอบปฏิบัติในเรื่องของการจัดการสภาพแวดล้อมอย่างได้ผล
* กำหนดตู้ Container (Internationally Standard Freight Container) ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันหมด เพื่อให้เกิดความสะดวกในการขนส่งไม่ว่า จะขนส่ง ด้วยเครื่องบิน เรือเดินทะเล รถไฟ รถยนต์บนทางหลวง หรือในการจัดเก็บ พร้อมทั้งกำหนดเป็นเอกสารมาตรฐาน ชี้บ่งประเภท ของ สินค้าที่จะต้องเฝ้าระวังด้วยทำให้ต้นทุนการค้าขายมีราคาถูกลง มีความรวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้น
* กำหนดระบบการวัดมาตรฐาน (Universal System of Measurement) ขึ้นมา 7 หน่วยพื้นฐานซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า ระบบ SI Unit ซึ่งถ้า ปราศจากหน่วยมาตรฐานเหล่านี้แล้วงานทางด้านช่างก็จะไร้จุดยึดเหนี่ยวการ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีก็จะชลอตัวลงเสียเปรียบกับด้านอื่นๆที่มีการพัฒนา อย่างด่อเนื่อง
* กำหนดมาตรฐานขนาดกระดาษ (Paper Sizes) เช่น ISO 216 เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ผลิตและลูกค้าในเรื่องของราคา
* กำหนดมาตรฐานสัญญาลักษณ์ ควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในรถยนต์ (Symbols for Automobile Controls)ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่ว โลก ไม่ว่าจะผลิตจากแหล่งใด
* กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของลวดสลิง (Safety of Wire Ropes) ที่ใช้ในฐานขุดเจาะน้ำมัน เรือประมง อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ลิฟท์ (Lift) ในอาคารและในรถกระเช้า (Cable Car) เป็นต้น
* กำหนดรหัสมาตรฐาน สำหรับชื่อประเทศ สกุลเงิน และภาษาที่ใช้ (ISO International Codes for Country Names, Currency and Language)
* กำหนดเกลียวมาตรฐาน (ISO Metric Screw Threads) สำหรับ Bolts และ Nuts ต่างๆ ที่ใช้อยู่ทั่วโลก
เหตุผลสำคัญที่ทั่วโลกยอมรับ ISO 9000
* เป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก
* คุณภาพเป็นสิ่งสำคัญในการแข่งขันของธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต
* มีความหลากหลายในการนำไปประยุกต์ใช้
* การยอมรับของประเทศชั้นนำมากกว่า 130 ประเทศ
* สามารถขึ้นทะเบียนใบรับรองได้ทั่วโลก
ธุรกิจที่ประยุกต์ใช้ ISO 9000 แล้วได้แก่
* น้ำมัน ปิโตรเลี่ยม ปิโตรเคมี ก๊าซธรรมชาติ
* ชิ้นส่วนรถยนต์
* พลาสติก กระดาษ โลหะ
* อิเลคโทรนิคส์ และไฟฟ้า
* อาหาร และ Catering
* เคมี และยาเวชภัณฑ์
* บริการ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล การประกันภัย การขนส่ง
* ก่อสร้าง
วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555
ประวัติ ความเป็นมา ความหมายของระบบมาตรฐาน ISO 9001:2000 คืออะไร ISO 9001 : 2000 เป็นมาตรฐานสากลที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์กร ISO 9001 : 2000 จึงเป็นระบบบริหารงานคุณภาพมาตรฐานสากล แนวคิดสำคัญของ ISO 9001 : 2000 คือ การจัดวางระบบบริหารงาน เพื่อการประกันคุณภาพซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ได้รับการควบคุม และสามารถตรวจสอบได้โดยผ่านเอกสารที่ระบุขั้นตอน และวิธีการทำงาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอน ต่างๆ ในการปฏิบัติงาน โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานมีการจดบันทึกข้อมูล รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในเอกสารหรือไม่ และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิม ในปัจจุบันมาตรฐาน ISO 9001 : 2000 จึงกลายเป็นเงื่อนไขหรือข้อกำหนดทางการค้าในการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นใบเบิกทางไปสู่การค้าในระดับสากล มาตรฐานที่ใช้ได้กับทุกองค์กร ISO 9001 : 2000 เน้นบทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องให้ความสำคัญกับความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้อง องค์กรทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิตหรือภาคบริการทั้งรัฐและ เอกชน สามารถนำระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2000 ไปใช้ได้ และไม่มีขีดจำกัดว่าต้องใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่การลงทุนสูงและบุคลากร จำนวนมากเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ และบริการให้เทียบเคียงกับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงได้ ประโยชน์ที่ได้รับภายในองค์กร * มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบยิ่งขึ้น * มีคุณภาพสินค้าที่ดีขึ้น * ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากของเสียได้อย่างเป็นรูปธรรม * เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานดีขึ้น * มีระบบเอกสารที่ดีขึ้น ประโยชน์ที่ได้รับภายนอกองค์กร * ลูกค้าเกิดความมั่นใจในสินค้าและบริการ * ก้าวสู่ตลาดต่างประเทศได้ง่าย * เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า * สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า * เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน หลักการของการบริหารงานคุณภาพ (Quality Management Principle – QMP) มี 8 ประการ ได้แก่ 1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Focus) 2. ความเป็นผู้นำ (Leadership) 3. การมีส่วนร่วมของบุคลากร (Involvement of People) 4. การบริหารเชิงกระบวนการ (Process Approach) 5. การบริหารที่เป็นระบบ (System Approach) 6. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement) 7. การตัดสินใจบนพื้นฐานความเป็นจริง (Factual Approach to Decision Making) 8. ความสัมพันธ์กับผู้ขายเพื่อประโยชน์ร่วมกัน (Mutually Beneficial Supplier Relationship) ISO 9000 เป็นมาตรฐานสากลสำหรับระบบคุณภาพอันเกี่ยวกับการ จัดการ ด้านคุณภาพ และการประกันคุณภาพ โดยเน้น “ความพึงพอใจ ของลูกค้า” (Customer Satisfaction) เป็นสำคัญ มาตรฐานงานคุณภาพ ISO 9000 จัดทำขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ ว่าด้วยมาตรฐาน(International Organization for Standardization) ISO 9000 เป็นระบบคุณภาพที่ใช้ได้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอุตสาหกรรม การผลิตหรือการบริการ โดยไม่คำนึงถึงขนาดเทคโนโลยี หรือความ ซับซ้อนขององค์การ หลักการของระบบมาตรฐานงานคุณภาพ ISO 9000 นั้น ตั้งอยู่บนความคิดพื้นฐานที่ว่า เมื่อกระบวนการ (Process) ดีแล้ว ผลที่ได้รับ (Outputs) ก็ย่อมจะดีตามไปด้วย ซึ่งกระบวนการในที่นี้เป็นกระบวนการใดๆ ก็ได้ ที่ก่อให้เกิดผล และผลที่ได้เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม โดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญซึ่งย่อมก่อให้เกิดความพึงพอใจของ ลูกค้าก็คือความหมายของ“คุณภาพ” นั่นเอง การควบคุมกระบวนการให้ดีเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในสินค้าหรือการบริการนั้น โดยหลักการก็คือการจัดทำระบบ ที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า กระบวนการ ต่างๆได้รับการควบคุมโดยมีเอกสารระบบขั้นตอนวิธีการทำงานเพื่อให้เกิดความ มั่นใจว่าหน่วยงานรู้หน้าที่ความรับผิดชอบของตนอีกทั้งขั้นตอนต่างๆในการ ปฏิบัติงาน หน่วยงานและบุคลากรจะต้องได้รับการอบรมเพื่อให้มีทักษะในการปฏิบัติงานมีการ บันทึกข้อมูลและตรวจสอบว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามที่ระบุไว้ มีการแก้ไขข้อผิดพลาด รวมทั้งมีการป้องกันปัญหามิให้เกิดซ้ำขึ้นอีก ดังนั้น เอกสารที่จัดทำขึ้นในระบบคุณภาพ ISO 9000 ก็เพื่อสร้างระบบ ให้ หน่วยงานนั่นเอง เพื่อให้การทำงานต่างๆ ภายในองค์กร ขึ้นอยู่กับ“ระบบ”ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับ “คน” แต่เพียงอย่างเดียว มาตรฐานคืออะไร มาตรฐาน คือ ข้อตกลงที่จัดทำขึ้นเป็นเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลหรือข้อกำหนดทางเทคนิค (Technical Specifications) หรือวิธีการทำงาน ที่ถูกต้อง เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป แล้วร่วมกำหนดเป็นเกณฑ์ข้อบังคับขึ้นมาหรือ นิยาม คำจำกัดความคุณลักษณะเฉพาะ (Definition of Characteristics)ของสิ่งนั้นๆที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ขบวนการ หรือการบริการนั้นๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ดังนั้น มาตรฐาน (Standards) ก็คือ ข้อตกลงหรือพันธะร่วมที่ยอมรับระหว่างผู้ผลิตกับผู้รับบริการ หรือ เกิดจากเกณฑ์เฉลี่ยจากสมรรถนะ ของหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงาน หรือ เกิดจากข้อกำหนดด้านวิธีการหรือการทำงาน (Procedures manual หรือ Work Instruction) นั้นเอง องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน(International Organization for Standardization:ISO) เป็นองค์กรอิสระ(Non–govermential Organization) จัดตั้งขึ้นในปี คศ.1947 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีสมาชิกกว่า 130 ประเทศทั่วโลก มีพันธกิจ (Mission) ในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนามาตรฐานงานต่างๆ และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และพัฒนาความร่วมมือในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและเศรษฐกิจ อย่างครบวงจร องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization) มีชื่อเรียกสั้น ๆว่า ISO เป็นภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่า “เท่าเทียมกัน” ดังเช่น “ ISOMETRIC” ซึ่งมีความหมายว่า “วัดได้เท่ากันหรือขนาดเท่ากัน” หรือ “ISONOMY”ซึ่งหมายถึง “มีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย”เป็นต้น ดังนั้นคำว่า“ ISO” จึงไม่ใช่คำที่ย่อมาจากชื่อเต็มขององค์การ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization) ประสพความสำเร็จในการกำหนดมาตรฐาน ต่างๆมากมาย ที่นานาประเทศนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการค้า อุตสาหกรรมและต่อผู้บริโภคเอง เช่น * กำหนดรหัสความเร็วของฟิล์มถ่ายรูป (The ISO Film Speed Code) * กำหนดมาตรฐานของบัตรโทรศัพท์และบัตรเครดิต (Telephone and Banking Cards) * องค์กรธุรกิจกว่า 10,000 องค์กร ได้มีการนำระบบมาตรฐานงานคุณภาพ ISO 9000 เป็นกรอบไปปฏิบัติว่ามีการบริหารจัดการ อย่างมี คุณภาพและประกันคุณภาพ ขณะเดียวกันก็ได้นำมาตรฐาน ISO 14000 นำไปเป็นกรอบปฏิบัติในเรื่องของการจัดการสภาพแวดล้อมอย่างได้ผล * กำหนดตู้ Container (Internationally Standard Freight Container) ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันหมด เพื่อให้เกิดความสะดวกในการขนส่งไม่ว่า จะขนส่ง ด้วยเครื่องบิน เรือเดินทะเล รถไฟ รถยนต์บนทางหลวง หรือในการจัดเก็บ พร้อมทั้งกำหนดเป็นเอกสารมาตรฐาน ชี้บ่งประเภท ของ สินค้าที่จะต้องเฝ้าระวังด้วยทำให้ต้นทุนการค้าขายมีราคาถูกลง มีความรวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้น * กำหนดระบบการวัดมาตรฐาน (Universal System of Measurement) ขึ้นมา 7 หน่วยพื้นฐานซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า ระบบ SI Unit ซึ่งถ้า ปราศจากหน่วยมาตรฐานเหล่านี้แล้วงานทางด้านช่างก็จะไร้จุดยึดเหนี่ยวการ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีก็จะชลอตัวลงเสียเปรียบกับด้านอื่นๆที่มีการพัฒนา อย่างด่อเนื่อง * กำหนดมาตรฐานขนาดกระดาษ (Paper Sizes) เช่น ISO 216 เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ผลิตและลูกค้าในเรื่องของราคา * กำหนดมาตรฐานสัญญาลักษณ์ ควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในรถยนต์ (Symbols for Automobile Controls)ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่ว โลก ไม่ว่าจะผลิตจากแหล่งใด * กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของลวดสลิง (Safety of Wire Ropes) ที่ใช้ในฐานขุดเจาะน้ำมัน เรือประมง อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ลิฟท์ (Lift) ในอาคารและในรถกระเช้า (Cable Car) เป็นต้น * กำหนดรหัสมาตรฐาน สำหรับชื่อประเทศ สกุลเงิน และภาษาที่ใช้ (ISO International Codes for Country Names, Currency and Language) * กำหนดเกลียวมาตรฐาน (ISO Metric Screw Threads) สำหรับ Bolts และ Nuts ต่างๆ ที่ใช้อยู่ทั่วโลก เหตุผลสำคัญที่ทั่วโลกยอมรับ ISO 9000 * เป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก * คุณภาพเป็นสิ่งสำคัญในการแข่งขันของธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต * มีความหลากหลายในการนำไปประยุกต์ใช้ * การยอมรับของประเทศชั้นนำมากกว่า 130 ประเทศ * สามารถขึ้นทะเบียนใบรับรองได้ทั่วโลก ธุรกิจที่ประยุกต์ใช้ ISO 9000 แล้วได้แก่ * น้ำมัน ปิโตรเลี่ยม ปิโตรเคมี ก๊าซธรรมชาติ * ชิ้นส่วนรถยนต์ * พลาสติก กระดาษ โลหะ * อิเลคโทรนิคส์ และไฟฟ้า * อาหาร และ Catering * เคมี และยาเวชภัณฑ์ * บริการ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล การประกันภัย การขนส่ง * ก่อสร้าง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น